Welcome

ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของ นางสาว นิศากร บัวกลาง

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4


บันทึกอนุทิน
ครั้งที่  4
วันที่ 1 กุมภาพันธ์  2559
เวลา 14.30 น.-17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ   
วันนี้อาจารย์สอนเนื้อหาเกี่ยวกับแผนการสอน และมอบหมายงานให้นักศึกษาไปศึกษาเกี่ยวกับแผนการสอนและเพื่อนๆแต่ละกลุ่มก็ได้หยิบฉลากเพื่อจะเรียงลำดับการนำเสนองานของแต่ละกลุ่ม และมีการเลือกหน่วยการเรียนรู้ ดังนี้
1.หน่วย ส้ม
2.หน่วย เห็ด
3.หน่วย กล้วย
4.หน่วย ผีเสื้อ
5.หน่วย ผัก
6.หน่วย ยานพาหนะ

การประเมินผล   

ประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ และให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม
ประเมินเพื่อนเพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลาแต่งกายเรียบร้อย
ประเมินอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ผู้สอนเข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย




วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิ
ครั้งที่ 3
วันที่ 25  มกราคม 2559
เวลา 14.30 น.-17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ   
วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดของนักทฤษฎีต่างๆสามารถแบ่งได้ดังนี้

1.มอนเตสซอรี่ (Montessori Method)

2.วอลดอร์ฟ (Waldorf)

3.การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (Project - based Learning : PBL)

4.พหุปัญญา (Multiple Intelligence)

5.STEM (Science, Technology, Engineering, and Mathematics)

6.BBL (Brain-based Learning)

และกลุ่มของดิฉันก็ได้หัวข้อ การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน


(Brain based Learning : BBL)โดยมีรายละเอียดดังนี้
 การจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-based learning) ในศตวรรษที่ 21 เริ่มเด่นชัดและ มีความสำคัญเป็นอย่างมาก Brain based learning เป็นที่รู้จักในวงการการศึกษาไทย รวมไปถึงบรรดาพ่อแม่ ผู้ปกครองที่สรรหาความแปลกใหม่ทางการศึกษาสำหรับลูก แม้แต่กระทรวงศึกษา
ธิการเองก็มีนโยบายให้มีการจัดการศึกษาในแนวทางนี้เป็นแนวทางหลักที่ใช้ในโรงเรียน คนเราจะเกิดมาฉลาดหลักแหลมหรือเป็นคนโง่ทึ่มนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดยังคงเป็น "สมอง" เพราะสมองเป็นตัวที่จะรับรู้และสั่งการ ทำให้เรามีความคิดและการกระทำ ถ้าปราศจากการสั่งการจากสมองแล้ว เราคงจะทำอะไรไม่ได้เลย การที่จะเลี้ยงลูกให้ฉลาดนั้น จำเป็นจะต้องพัฒนาสมองของลูกไปให้ถูกทาง สร้างเสริมความรู้ประสบการณ์ให้เหมาะสมกับวัยเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของสมอง จะเห็นได้ว่าศักยภาพของสมองมนุษย์มีอยู่มากมายมหาศาลและพลังของสมองนั้นไม่มีขอบเขตจำกัดหรือไม่มีที่สิ้นสุดนั้นเอง ดังนั้น การนำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของสมองมาใช้ในการจัดการเรียนรู้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและเป็นการเสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียน รวมถึงเป็นการพัฒนาการจัดการศึกษาให้ดีขึ้นด้วย

ความหมายของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน

การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เป็นแนวความคิดของนักประสาทวิทยาและนักการศึกษา
กลุ่มหนึ่ง ที่สนใจการทำงานของสมองมาประสานกับการจัดการศึกษา โดยนำความรู้ ความเข้าใจ
เกี่ยวกับสมองมาใช้เป็นเครื่องมือในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพสูงสุด
ในการเรียนรู้ของมนุษย์แต่ละช่วงวัย สมองมนุษย์เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดที่มนุษย์ต้องใช้ในการเรียนรู้
ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญหรือนักวิชาการต่างได้ให้นิยาม หรือแนวทางที่แตกต่างกัน ดังนี้
เคน และเคน (Caine and Caine. 1989 : Web Site) อธิบายว่า การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่อยู่บนพื้นฐานของโครงสร้างและหน้าที่การทำงานของสมองหากสมองยังปฏิบัติตามกระบวนการทำงานปกติการเรียนรู้ก็ยังจะเกิดขึ้นต่อไป ทฤษฎีนี้เป็นสหวิทยาการเพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุดซึ่งมาจากงานวิจัยทางประสาทวิทยา
อีริก (Eric Jensen. 2000) กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดการเชื่อมต่อไปยังสมอง ไม่ว่าจะทางใดก็ตาม ถือเป็นการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน โดยเป็นการรวมสหวิทยาการต่าง ๆ เช่น เคมี ชีวิวิทยา ระบบประสาทวิทยา จิตวิทยาสังคมวิทยา มาอธิบายกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยเฉพาะความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้กับสมอง เพราะการเรียนรู้บนฐานสมองไม่ได้มุ่งเน้นการออกแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมอง หรือทาอย่างไรให้สมองเจริญเติบโต แต่หัวใจสำคัญของการเรียนรู้บนฐานสมองอยู่ที่จะออกแบบการเรียนการสอนอย่างไรให้สมองสามารถเรียนรู้ได้ดีที่สุด
เรเนต นัมเมลา เคน และ จอฟฟรี่ เคน (Renate Nummela Caine and Geoffrey Caine) ได้ให้ความหมายการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ว่า เป็นการที่ผู้เรียนได้รับประสบการที่หลากหลาย ทั้งที่เป็นจริงและวาดฝัน และหาวิธีการต่าง ๆ ในการรับประสบการณ์เข้ามา ซึ่งหมายรวมถึงการสะท้อนความคิด การคิดวิจารณญาณและการแสดงออกในเชิงศิลปะซึ่งเป็นการสรุปความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ (เยาวพา เดชะคุปต์. 2548 : 36 ; อ้างอิงมาจาก  Renate Nummela Caine and Geoffrey Caine. 1990 : 66-70)

สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน หมายถึง แนวการจัดการเรียนรู้ที่เน้น
ผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักการของสมองกับการเรียนรู้ การเรียนรู้ต้องใช้ทุกส่วนทั้งการคิด ความรู้สึก
และการลงมือปฏิบัติไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งเป็นการสรุปความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้

หลักการสำคัญของการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน

เคน และเคน (Caine and Caine. 1989 : Web Site) แนะนำว่า หลักการสำคัญของการการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานไม่ใช่ให้ใช้เพียงข้อเดียว แต่ให้เลือกใช้ข้อที่ทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นมากที่สุดและการเรียนการสอนบรรลุผลสูงสุดเท่าใดก็ได้ เป็นการเพิ่มทางเลือกให้ผู้สอนซึ่งหลักการสำคัญของการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานมี 12 ประการ ดังนี้
1. สมองเรียนรู้พร้อมกันทุกระบบ แต่ละระบบมีหน้าที่ต่างกันและสมองเป็นผู้ดำเนินการที่สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้หลายอย่างในเวลาเดียวกันโดยผสมผสานทั้งด้านความคิดประสบการณ์และอารมณ์รวมถึงข้อมูลที่มีอยู่หลากหลายรูปแบบ เช่น สามารถชิมอาหารพร้อมกับได้กลิ่นของอาหาร การกระตุ้นสมองส่วนหนึ่งย่อมส่งผลกับส่วนอื่น ๆ ด้วยการเรียนรู้ทุกอย่างมีความสำคัญ ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพจะทำให้การเรียนรู้ที่หลากหลาย
2. การเรียนรู้มีผลมาจากด้านสรีระศาสตร์ทั้งสุขภาพพลานามัย การพักผ่อนนอนหลับ ภาวะโภชนาการ อารมณ์และความเหนื่อยล้า ซึ่งต่างส่งผลกระทบต่อการจดจำของสมองผู้สอนควรให้ความใส่ใจมิใช่สนใจเพียงเฉพาะความรู้สึกนึกคือหรือสติปัญญาด้านเดียว
3. สมองเรียนรู้โดยการหาความหมายของสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ การค้นหาความหมายเป็นสิ่งที่มีมาตั้งแต่เกิด สมองจำเป็นต้องเก็บข้อมูลในส่วนที่เหมือนกันและค้นหาความหมายเพื่อตอบสนองกับสิ่งเร้าที่เพิ่มขึ้นมา การสอนที่มีประสิทธิภาพต้องยอมรับว่าการให้ความหมายเป็นเอกลักษณ์แต่ละบุคคลและความเข้าใจของนักเรียนอยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์แต่ละคน
4. สมองค้นหาความหมายโดยการค้นหาแบบแผน (Pattern) ในสิ่งที่เรียนรู้การค้นหาความหมาย เกิดขึ้นจากการเรียนรู้แบบแผนขั้นตอนการจัดระบบข้อมูล เช่น 2+2 = 4,5+5 = 10, 10+10 = 20 แสดงว่าทุกครั้งที่เราบวกผลของมันจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนเราสามารถเรียนรู้แบบแผนของความรู้ได้ และตรงกันข้ามเราจะเรียนรู้ได้น้อยลงเมื่อเราไม่ได้เรียนแบบแผนการสอนที่มีประสิทธิภาพต้องเชื่อมโยงความคิดที่กระจัดกระจายและข้อมูลที่หลากหลายมาจัดเป็นความคิดรวบยอดได้
5. อารมณ์มีผลต่อการเรียนรู้อย่างมาก อารมณ์เป็นสิ่งสำคัญต่อการเรียนรู้เราไม่สามารถแยกอารมณ์ออกจากความรู้ความเข้าใจได้และอารมณ์เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ได้รับอิทธิพลจากอารมณ์ ความรู้สึกและทัศนคติ
6. กระบวนการทางสมองเกิดขึ้นทั้งในส่วนรวมและส่วนย่อยในเวลาเดียวกันหากส่วนรวมหรือส่วนย่อยถูกมองข้ามไปในส่วนใดส่วนหนึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ยาก
7. สมองเรียนรู้จากการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม การสัมผัสจะต้องลงมือกระทำจึงเกิดการเรียนรู้หากได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมมากเท่าใดจะยิ่งเพิ่มการเรียนรู้มากเท่านั้นการเรียนรู้จากการบอกเล่า จากการฟังอย่างเดียวอาจทำให้มีปฏิสัมพันธ์ต่อสิ่งแวดล้อมน้อยส่งผลให้สมองเกิดการเรียนรู้น้อยลง
8. สมองเรียนรู้ทั้งในขณะรู้ตัวและไม่รู้ตัว ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้จากการได้รับประสบการณ์และสามารถจดจำได้ไม่เพียงแต่ฟังจากคนอื่นบอกอย่างเดียว นอกจากนี้ผู้เรียนยังต้องการ
เวลาเพื่อจะเรียนรู้ด้วย รวมทั้งผู้เรียนจำเป็นต้องรู้ด้วยว่าจะเรียนรู้ได้อย่างไรเท่า ๆ กับจะเรียนรู้อะไร
9. สมองใช้การจำอย่างน้อย 2 ประเภทคือ การจำที่เกิดจากประสบการณ์ตรงและการท่องจำ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นหนักด้านการท่องจำทำให้ผู้เรียนไม่เกิดการเรียนรู้  จากประสบการณ์ที่ได้สัมผัสและเรียนรู้โดยตรง ผู้เรียนจึงไม่สามารถให้รายละเอียดเพิ่มเติมจากสิ่งที่ท่องจำมาได้
10. สมองเข้าใจและจดจำเมื่อสิ่งที่เกิดขึ้นได้รับการปลูกฝังอย่างเป็นธรรมชาติเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพที่สุดเกิดจากประสบการณ์
11. สมองจะเรียนรู้มากขึ้นจากการท้าทายและการไม่ข่มขู่ บรรยากาศในชั้นเรียนจึงควรจะเป็นการท้าทายแต่ไม่ควรข่มขู่ผู้เรียน
12. สมองแต่ละคนเป็นลักษณะเฉพาะตัว ดังนั้นรูปแบบการเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้จึงเป็นเอกลักษณ์ส่วนบุคคล ในการสอนต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสิ่งที่ชอบบางคนชอบเรียน
เวลาครูพาไปดูของจริง แต่บางคนชอบนั่งฟังชอบจดบันทึก บางคนชอบให้เงียบ ๆแล้วจะเรียนได้ดี
แต่บางคนชอบให้มีเสียงเพลงเบา ๆ เพราะสมองทุกคนต่างกัน
สรุปว่า การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบสัมผัสโดยตรงและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงซึ่งมีส่วนส่งเสริมให้สมองสามารถรับรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กิจกรรมที่ทำในการนำเสนองาน   



1.การทำอาหาร
อุปกรณ์
1. ขนมปังแผ่น
2. มายองเนส
3. ผักกาดหอม
4ปูอัดและทูน่ากระป๋องสำเร็จรูป





วิธีทำ
1. ทามายองเนสบนขนมปังให้ทั่ว ๆ
2. วางผักกาดหอมบนขนมปังที่ทามายองเนสแล้ว
3. ตักปูอัดและทูน่ากระป๋องโรย ๆ ไปบนผักกาดหอม แล้ววางแฮมลงไป หั่นแฮม เป็นฝอย ๆ
4. วางขนมปังอีกชั้นทับชั้นเดิม อาจจะทำแบบข้อ 3. อีกสองสามชั้น แล้วค่อยวางขนมปังชั้นสุดท้าย  เป็นอันว่า เสร็จเรียบร้อย


2.การทดลองสะพานกระดาษทิชชู    
อุปกรณ์
  • แก้วน้ำพลาสติก
  • สีผสมอาหาร
  • กระดาษทิชชู แผ่นหนา
  • น้ำ



วิธีทำ
1.             นำสีผสมอาหาร ผสมน้ำใส่ลงไปในแก้ว 2 ใบ สีละ 1 ใบ
2.             จากนั้นนำแก้วน้ำทั้งสองใบ วางคั่นระหว่างแก้วนำเปล่า
3.             นำกระดาษทิชชู ม้วนเป็นเกลียว
4.             จุ่มกระดาษทิชชูลงไปในน้ำสี จนชุ่ม นำปลายอีกด้าน ใส่ลงไปในแก้วเปล่า
5.             ทำแบบเดียวกัน กับน้ำสีอีกใบ แต่นำปลายอีกด้าน มาใส่ในแก้วน้ำเปล่าใบเดียวกัน
6.             จะสังเกตได้ว่า แก้วน้ำเปล่าตรงกลาง จะมีน้ำสีเกิดขึ้นใหม่ ซึ่งเกิดจาดการผสมกัน ระหว่างน้ำสองสี


การประเมินผล  

ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ และตั้งใจฟังที่เพื่อนนำเสนองาน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกับเพื่อน ตั้งใจนำเสนองานของตนเอง
ประเมินเพื่อน เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลาแต่งกายเรียบร้อย และตั้งใจนำเสนองานทำให้นำเสนอออกมาได้น่าสนใจ
ประเมินอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ผู้สอนเข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยมีการแนะนำเพิ่มเติมวลาที่เพื่อนนำเสนองาน










วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2


บันทึกอนุทิน
 ครั้งที่ 2
วันจันทร์ ที่  25  มกราคม 2559  (ชดเชยวันพฤหัสบดี ที่ 21 มกราคม 2559)
เวลา 14.30 น.-17.30 น.



ความรู้ที่ได้รับ   
 อาจารย์มอบหมายงานให้ทำโดยกำหนดหัวข้อนักทฤษฎี แล้วนักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน โดยมีหัวข้อนักทฤษฎีดังต่อไปนี้
- การสอนแบบโครงการ (Project Approach)
- มอนเตสเซอรี่ (Montessori)
- พหุปัญญา (Multiple Intelligence Theory)
วอลดอร์ฟ(Waldorf)
- การสอนแบบบูรณาการ(Integrated Instruction)
- BBL(Based Learning)
      
งานที่ได้รับมอบหมาย  
ให้นักศึกษาได้ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการสอนและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวของหน่วยงานต่างๆ  โดยศึกษาหลักสูตรระดับปฐมวัยอายุ 3-6 ปี และศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของหน่วยงานต่างๆ

การประเมินผล
ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ และมีการจดบันทึกทุกครั้งเวลาอาจารย์สอน
ประเมินเพื่อนเพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลาแต่งกายเรียบร้อย และตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ผู้สอนเข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย และมีการมอบหมายงานให้ทำ


วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 1


บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 1
วันพฤหัสบดี ที่ 14 มกราคม  2559
เวลา 14.30-17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ     
 วันนี้เป็นวันแรกของการเรียนการสอน อาจารย์แนะนำเกี่ยวกับละเอียดเกี่ยวกับให้ความรู้เกี่ยวกับแนวการจัดการเรียนการสอน โดยมีรายละเอียดตามข้อดังนี้
        
             คำอธิบายรายวิชา
                   รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย รูปแบบการสอนและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามเเนวของหน่วยงานต่างๆการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยการจัดบรรยากาศของห้องเรียน การจัดตารางกิจกรรมการเรียนรู้ การศึกษาแนวทางการจัดประสบการณ์และหน่วยการเรียนรู้ การบูรณาการเนื้อหาและประสบการณ์ให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็ก การประเมินผลการเรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้นั้นๆ
          ผลลัพธ์การเรียนรู้
                   หลังจากศึกษารายวิชานี้แล้ว ผู้เรียนมีความสามารถดังนี้
           1.ด้านคุณธรรมจริยธรรม
                1.1 มีความซื่อสัตย์สุจริต และเสียสละ
                1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
                1.3 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
                1.4 เคารพกฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆของสาขา คณะฯ และมหาวิทยาลัย
                1.5 มีสัมมาคารวะให้ความเคารพต่อครู อาจารย์และผู้อาวุโส
           2.ด้านความรู้
                2.1 มีความรู้ความเข้าใจ อธิบายความหมาย และวิเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้ หลักการจัดประสบการณ์และรูปแบบการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย
                2.2 วิเคราะห์ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
                2.3 วิเคราะห์เทคนิคและกิจกรรม เพื่อนำมาใช้สำหรับการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย
                2.4 วิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และการจัดประสบการณ์
                2.5 วิเคราะห์การจัดบรรยากาศของห้องเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
                2.6 อธิบายกระบวนการประเมินผลการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
           3.ด้านทักษะทางปัญญา
                3.1 สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์
                3.2 สามารถสืบค้น ตีความ ประเมินปัญหาเกี่ยวกับการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมระดับปฐมวัย
                3.3 สามารถวิเคราะห์ปัญหา สรุปปัญหา คิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์
ความต้องการ เพื่อนำไปใช้พัฒนาตนเอง
                       3.4  สามารถประยุกต์ความรู้ เพื่อนำไปใช้จัดประสบการณ์ให้กับเด็กพิเศษปฐมวัย
           4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
                        4.1 สามารถใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร การนำเสนอได้ถูกต้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
                        4.2 สามารถให้ความช่วยเหลือร่วมมือในการเเก้ปัญหาต่างๆทั้งบทบาทการเป็นผูนำและผู้ร่วมงาน
                        4.3 สามารถเป็นผู้ริ่เริ่มประเด็นปัญหา และหาแนวทางแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ทั้งของตนเองและกลุ่ม
                        4.4 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ของตนในวิชาชีพครูปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง
            5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                        5.1 มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นในปัจจุบัน เพื่อการศึกษาค้นคว้า
                        5.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านการพูด การเขียน พร้อมทั้งเลือกใช้รูปแบบของการสื่อสารในการนำเสนอที่เหมาะสม
                        5.3 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสืบค้น การนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ
            6.ทักษะการจัดการเรียนรู้
                        6.1 มีความสามารถออกแบบการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
                        6.2 มีความสามารถเขียนแผนการจัดประสบการณ์ที่บูรณาการและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
                        6.3 มีทักษะและประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยได้หลากหลายรูปแบบ
                         6.4 มีความสามารถจัดประสบการณ์ทั้งเด็กปกติและเด็กพิเศษที่เรียนร่วมได้
                         6.5 มีความสามารถในการวางแผนการจัดการเรียนและนำกิจกรรมทางการศึกษาปฐมวัยมาบูรณาการกับการสอน

              

     อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ทำกิจกรรมตามหัวข้อ ดังนี้
-รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
-พัฒนาการและคุณลักษณะตามวัยของเด็กปฐมวัย
-การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
-ความสนใจและความต้องการของเด็กปฐมวัย
-รูปแบบการเรียนรู้นวัตกรรมการสอนแบบโครงการ



การประเมินผล    

ประเมินตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ มีความกระตือรืนร้นที่จะเรียน และมีการจดบันทึกทุกครั้งเวลาอาจารย์สอนหรือแนะนำ
ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลาแต่งกายเรียบร้อย และตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ผู้สอนเข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย และมีการแนะแนวการสอนของรายวิชานี้