บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 3
วันที่ 25 มกราคม 2559
เวลา 14.30 น.-17.30
น.
วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดของนักทฤษฎีต่างๆสามารถแบ่งได้ดังนี้
1.มอนเตสซอรี่ (Montessori Method)
2.วอลดอร์ฟ (Waldorf)
3.การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (Project -
based Learning : PBL)
4.พหุปัญญา (Multiple Intelligence)
5.STEM (Science, Technology, Engineering, and Mathematics)
6.BBL (Brain-based Learning)
และกลุ่มของดิฉันก็ได้หัวข้อ การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
(Brain
based Learning : BBL)โดยมีรายละเอียดดังนี้
การจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-based
learning) ในศตวรรษที่ 21
เริ่มเด่นชัดและ มีความสำคัญเป็นอย่างมาก Brain based learning เป็นที่รู้จักในวงการการศึกษาไทย
รวมไปถึงบรรดาพ่อแม่ ผู้ปกครองที่สรรหาความแปลกใหม่ทางการศึกษาสำหรับลูก
แม้แต่กระทรวงศึกษา
ธิการเองก็มีนโยบายให้มีการจัดการศึกษาในแนวทางนี้เป็นแนวทางหลักที่ใช้ในโรงเรียน
คนเราจะเกิดมาฉลาดหลักแหลมหรือเป็นคนโง่ทึ่มนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง
แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดยังคงเป็น "สมอง"
เพราะสมองเป็นตัวที่จะรับรู้และสั่งการ ทำให้เรามีความคิดและการกระทำ ถ้าปราศจากการสั่งการจากสมองแล้ว
เราคงจะทำอะไรไม่ได้เลย การที่จะเลี้ยงลูกให้ฉลาดนั้น
จำเป็นจะต้องพัฒนาสมองของลูกไปให้ถูกทาง
สร้างเสริมความรู้ประสบการณ์ให้เหมาะสมกับวัยเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของสมอง
จะเห็นได้ว่าศักยภาพของสมองมนุษย์มีอยู่มากมายมหาศาลและพลังของสมองนั้นไม่มีขอบเขตจำกัดหรือไม่มีที่สิ้นสุดนั้นเอง
ดังนั้น
การนำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของสมองมาใช้ในการจัดการเรียนรู้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและเป็นการเสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียน
รวมถึงเป็นการพัฒนาการจัดการศึกษาให้ดีขึ้นด้วย
การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
เป็นแนวความคิดของนักประสาทวิทยาและนักการศึกษา
กลุ่มหนึ่ง
ที่สนใจการทำงานของสมองมาประสานกับการจัดการศึกษา โดยนำความรู้ ความเข้าใจ
เกี่ยวกับสมองมาใช้เป็นเครื่องมือในการออกแบบการจัดการเรียนรู้
เพื่อพัฒนาศักยภาพสูงสุด
ในการเรียนรู้ของมนุษย์แต่ละช่วงวัย
สมองมนุษย์เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดที่มนุษย์ต้องใช้ในการเรียนรู้
ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญหรือนักวิชาการต่างได้ให้นิยาม
หรือแนวทางที่แตกต่างกัน ดังนี้
เคน และเคน (Caine
and Caine. 1989 : Web
Site) อธิบายว่า
การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่อยู่บนพื้นฐานของโครงสร้างและหน้าที่การทำงานของสมองหากสมองยังปฏิบัติตามกระบวนการทำงานปกติการเรียนรู้ก็ยังจะเกิดขึ้นต่อไป
ทฤษฎีนี้เป็นสหวิทยาการเพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุดซึ่งมาจากงานวิจัยทางประสาทวิทยา
อีริก (Eric
Jensen. 2000) กล่าวว่า
การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน หมายถึง สิ่งต่าง ๆ
ที่เกิดการเชื่อมต่อไปยังสมอง ไม่ว่าจะทางใดก็ตาม
ถือเป็นการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน โดยเป็นการรวมสหวิทยาการต่าง ๆ เช่น เคมี
ชีวิวิทยา ระบบประสาทวิทยา จิตวิทยาสังคมวิทยา มาอธิบายกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์
โดยเฉพาะความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้กับสมอง
เพราะการเรียนรู้บนฐานสมองไม่ได้มุ่งเน้นการออกแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมอง
หรือทาอย่างไรให้สมองเจริญเติบโต
แต่หัวใจสำคัญของการเรียนรู้บนฐานสมองอยู่ที่จะออกแบบการเรียนการสอนอย่างไรให้สมองสามารถเรียนรู้ได้ดีที่สุด
เรเนต นัมเมลา
เคน และ จอฟฟรี่ เคน (Renate Nummela Caine and Geoffrey Caine) ได้ให้ความหมายการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
ว่า เป็นการที่ผู้เรียนได้รับประสบการที่หลากหลาย ทั้งที่เป็นจริงและวาดฝัน และหาวิธีการต่าง
ๆ ในการรับประสบการณ์เข้ามา ซึ่งหมายรวมถึงการสะท้อนความคิด
การคิดวิจารณญาณและการแสดงออกในเชิงศิลปะซึ่งเป็นการสรุปความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้
(เยาวพา เดชะคุปต์. 2548 : 36 ; อ้างอิงมาจาก Renate Nummela Caine and Geoffrey
Caine. 1990 : 66-70)
สรุปได้ว่า
การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน หมายถึง แนวการจัดการเรียนรู้ที่เน้น
ผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักการของสมองกับการเรียนรู้
การเรียนรู้ต้องใช้ทุกส่วนทั้งการคิด ความรู้สึก
และการลงมือปฏิบัติไปพร้อม
ๆ กัน ซึ่งเป็นการสรุปความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้
เคน และเคน (Caine
and Caine. 1989 : Web
Site) แนะนำว่า
หลักการสำคัญของการการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานไม่ใช่ให้ใช้เพียงข้อเดียว
แต่ให้เลือกใช้ข้อที่ทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นมากที่สุดและการเรียนการสอนบรรลุผลสูงสุดเท่าใดก็ได้
เป็นการเพิ่มทางเลือกให้ผู้สอนซึ่งหลักการสำคัญของการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานมี
12 ประการ ดังนี้
1.
สมองเรียนรู้พร้อมกันทุกระบบ
แต่ละระบบมีหน้าที่ต่างกันและสมองเป็นผู้ดำเนินการที่สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้หลายอย่างในเวลาเดียวกันโดยผสมผสานทั้งด้านความคิดประสบการณ์และอารมณ์รวมถึงข้อมูลที่มีอยู่หลากหลายรูปแบบ
เช่น สามารถชิมอาหารพร้อมกับได้กลิ่นของอาหาร
การกระตุ้นสมองส่วนหนึ่งย่อมส่งผลกับส่วนอื่น ๆ
ด้วยการเรียนรู้ทุกอย่างมีความสำคัญ ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพจะทำให้การเรียนรู้ที่หลากหลาย
2.
การเรียนรู้มีผลมาจากด้านสรีระศาสตร์ทั้งสุขภาพพลานามัย การพักผ่อนนอนหลับ
ภาวะโภชนาการ อารมณ์และความเหนื่อยล้า
ซึ่งต่างส่งผลกระทบต่อการจดจำของสมองผู้สอนควรให้ความใส่ใจมิใช่สนใจเพียงเฉพาะความรู้สึกนึกคือหรือสติปัญญาด้านเดียว
3.
สมองเรียนรู้โดยการหาความหมายของสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
การค้นหาความหมายเป็นสิ่งที่มีมาตั้งแต่เกิด
สมองจำเป็นต้องเก็บข้อมูลในส่วนที่เหมือนกันและค้นหาความหมายเพื่อตอบสนองกับสิ่งเร้าที่เพิ่มขึ้นมา
การสอนที่มีประสิทธิภาพต้องยอมรับว่าการให้ความหมายเป็นเอกลักษณ์แต่ละบุคคลและความเข้าใจของนักเรียนอยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์แต่ละคน
4.
สมองค้นหาความหมายโดยการค้นหาแบบแผน (Pattern) ในสิ่งที่เรียนรู้การค้นหาความหมาย
เกิดขึ้นจากการเรียนรู้แบบแผนขั้นตอนการจัดระบบข้อมูล เช่น 2+2 = 4,5+5 = 10, 10+10 = 20 แสดงว่าทุกครั้งที่เราบวกผลของมันจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนเราสามารถเรียนรู้แบบแผนของความรู้ได้
และตรงกันข้ามเราจะเรียนรู้ได้น้อยลงเมื่อเราไม่ได้เรียนแบบแผนการสอนที่มีประสิทธิภาพต้องเชื่อมโยงความคิดที่กระจัดกระจายและข้อมูลที่หลากหลายมาจัดเป็นความคิดรวบยอดได้
5. อารมณ์มีผลต่อการเรียนรู้อย่างมาก
อารมณ์เป็นสิ่งสำคัญต่อการเรียนรู้เราไม่สามารถแยกอารมณ์ออกจากความรู้ความเข้าใจได้และอารมณ์เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ความคิดสร้างสรรค์
การเรียนรู้ได้รับอิทธิพลจากอารมณ์ ความรู้สึกและทัศนคติ
6.
กระบวนการทางสมองเกิดขึ้นทั้งในส่วนรวมและส่วนย่อยในเวลาเดียวกันหากส่วนรวมหรือส่วนย่อยถูกมองข้ามไปในส่วนใดส่วนหนึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ยาก
7.
สมองเรียนรู้จากการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
การสัมผัสจะต้องลงมือกระทำจึงเกิดการเรียนรู้หากได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมมากเท่าใดจะยิ่งเพิ่มการเรียนรู้มากเท่านั้นการเรียนรู้จากการบอกเล่า
จากการฟังอย่างเดียวอาจทำให้มีปฏิสัมพันธ์ต่อสิ่งแวดล้อมน้อยส่งผลให้สมองเกิดการเรียนรู้น้อยลง
8.
สมองเรียนรู้ทั้งในขณะรู้ตัวและไม่รู้ตัว
ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้จากการได้รับประสบการณ์และสามารถจดจำได้ไม่เพียงแต่ฟังจากคนอื่นบอกอย่างเดียว
นอกจากนี้ผู้เรียนยังต้องการ
เวลาเพื่อจะเรียนรู้ด้วย
รวมทั้งผู้เรียนจำเป็นต้องรู้ด้วยว่าจะเรียนรู้ได้อย่างไรเท่า ๆ กับจะเรียนรู้อะไร
9.
สมองใช้การจำอย่างน้อย 2 ประเภทคือ การจำที่เกิดจากประสบการณ์ตรงและการท่องจำ
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นหนักด้านการท่องจำทำให้ผู้เรียนไม่เกิดการเรียนรู้ จากประสบการณ์ที่ได้สัมผัสและเรียนรู้โดยตรง
ผู้เรียนจึงไม่สามารถให้รายละเอียดเพิ่มเติมจากสิ่งที่ท่องจำมาได้
10.
สมองเข้าใจและจดจำเมื่อสิ่งที่เกิดขึ้นได้รับการปลูกฝังอย่างเป็นธรรมชาติเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์
การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพที่สุดเกิดจากประสบการณ์
11.
สมองจะเรียนรู้มากขึ้นจากการท้าทายและการไม่ข่มขู่
บรรยากาศในชั้นเรียนจึงควรจะเป็นการท้าทายแต่ไม่ควรข่มขู่ผู้เรียน
12.
สมองแต่ละคนเป็นลักษณะเฉพาะตัว ดังนั้นรูปแบบการเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้จึงเป็นเอกลักษณ์ส่วนบุคคล
ในการสอนต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสิ่งที่ชอบบางคนชอบเรียน
เวลาครูพาไปดูของจริง
แต่บางคนชอบนั่งฟังชอบจดบันทึก บางคนชอบให้เงียบ ๆแล้วจะเรียนได้ดี
แต่บางคนชอบให้มีเสียงเพลงเบา
ๆ เพราะสมองทุกคนต่างกัน
สรุปว่า การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบสัมผัสโดยตรงและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น
เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงซึ่งมีส่วนส่งเสริมให้สมองสามารถรับรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.การทำอาหาร
อุปกรณ์
1. ขนมปังแผ่น
2. มายองเนส
3. ผักกาดหอม
4ปูอัดและทูน่ากระป๋องสำเร็จรูป
วิธีทำ
1. ทามายองเนสบนขนมปังให้ทั่ว ๆ
2. วางผักกาดหอมบนขนมปังที่ทามายองเนสแล้ว
3. ตักปูอัดและทูน่ากระป๋องโรย ๆ ไปบนผักกาดหอม แล้ววางแฮมลงไป หั่นแฮม
เป็นฝอย ๆ
4. วางขนมปังอีกชั้นทับชั้นเดิม อาจจะทำแบบข้อ 3. อีกสองสามชั้น
แล้วค่อยวางขนมปังชั้นสุดท้าย เป็นอันว่า เสร็จเรียบร้อย
อุปกรณ์
- แก้วน้ำพลาสติก
- สีผสมอาหาร
- กระดาษทิชชู แผ่นหนา
- น้ำ
วิธีทำ
1.
นำสีผสมอาหาร
ผสมน้ำใส่ลงไปในแก้ว 2 ใบ สีละ 1 ใบ
2.
จากนั้นนำแก้วน้ำทั้งสองใบ
วางคั่นระหว่างแก้วนำเปล่า
3.
นำกระดาษทิชชู
ม้วนเป็นเกลียว
4.
จุ่มกระดาษทิชชูลงไปในน้ำสี
จนชุ่ม นำปลายอีกด้าน ใส่ลงไปในแก้วเปล่า
5.
ทำแบบเดียวกัน
กับน้ำสีอีกใบ แต่นำปลายอีกด้าน มาใส่ในแก้วน้ำเปล่าใบเดียวกัน
6.
จะสังเกตได้ว่า
แก้วน้ำเปล่าตรงกลาง จะมีน้ำสีเกิดขึ้นใหม่ ซึ่งเกิดจาดการผสมกัน ระหว่างน้ำสองสี
ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา
แต่งกายถูกระเบียบ และตั้งใจฟังที่เพื่อนนำเสนองาน
ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกับเพื่อน ตั้งใจนำเสนองานของตนเอง
ประเมินอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ผู้สอนเข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยมีการแนะนำเพิ่มเติมวลาที่เพื่อนนำเสนองาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น